กฎการเงิน FINANCIAL FAIR PLAY สุดเคร่ง แต่ตัดสินค้านความคิดคนทั้งโลก

ลองย้อนดูเรื่องราวทั้งหมดของ FFP ตั้งแต่วันที่กฎนี้เริ่มก่อตั้ง จนถึงวันที่ล้มเหลว เหตุใดองค์กรที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในฟุตบอลยุโรป จึงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ และท้ายที่สุด อนาคตของกฎนี้ จะเป็นเช่นไรต่อไป ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของกฎนี้กันก่อน

กฎนี้ออกมาเมื่อประมาณฤดูกาลปี 2009 – 2010 สมัยที่ มิชาเอล ฟลาตินี่ ยังนั่งเป็นประธานองค์กรฯ เพื่อควบคุมไม่ให้สโมสรสมาชิกใช้จ่ายเงินเกินตัว ซึ่งส่วนใหญ่หมดไปกับการซื้อ ขาย ตัวนักเตะระหว่างทีมด้วยกัน และมันเริ่มมีกลิ่นไม่ดีอาจส่อทำให้สโมสรฯ นั้น ๆ ล้มละลายได้ กฎควบคุมการเงินของ UEFA นี้ถูกต่อต้านจากลีกดังในยุโรป เช่น สเปน อิตาลี และอังกฤษ แต่มีอยู่ลีกเดียวที่ออกหน้าสนับสนุนคือ บุนเดส ลีก้า ของเยอรมัน เป็นที่ทราบกันดีว่าเรื่องการซื้อขายตัวผู้เล่น เป็นการลงทุนเพื่อแสวงหาความสำเร็จ และเงินกำไรควบคู่กันไป

ราคาค่าตัวของนักเตะไม่สามารถกำหนดได้ตายตัว เจ้าของสโมสรฯ มักนำเงินมาหมุนเวียนในรายการนี้มาก หรือเรียกว่าฟอกเงินครับ ธุรกิจสโมสรฟุตบอลเป็นแหล่งทำเงินและแปรสภาพสีได้ดี สโมสรดัง ๆ ในทุกลีกล้วนแต่มีตัวเลขที่แสดงต่อสาธารณะชนว่า ขาดทุน เพื่อต้องการหลบหลีกภาษี แต่ถ้ามองไปที่ทรัพย์สินของสโมสรฯ กับพบว่ามีมากขึ้นทั้งนั้น

กรณีตัวอย่างเมื่อปี 2010 – 2011 ในรายของสโมสร แมนยูฯ ไนเต็ด ที่มีตัวเลขในบัญชีก่อนเปิดฤดูกาล เป็นสีแดงเต็มหน้ากระดาษ แต่พวกก็ไม่ได้ตื่นตระหนกอะไร เพราะดูจากขนาดทีมและทรัพย์สิน มันไม่มีทางที่ทีมจะโดนฟ้องล้มลายได้เลย หรือทีมอย่าง เชลชี นั้นก็มีบัญชีแสดงตัวว่าขาดทุนอย่างหนักเช่นกัน แต่ดันไปซื้อตัว ตอร์เรส มาจากทีมลิเวอร์พูล ในราคา 50 ล้านปอนด์ แบบยิ้มระรื่นได้ เห็นได้ชัด ๆ เลยว่ามันขัดกับกฎ UEFA แน่นอน ถ้าคิดแบบหลักการทำบัญชี แต่ทีม เชลชี ก็แค่ได้รับการตักเตือนไปเท่านั้นเอง 

จากกฎที่เป็นได้แค่ เสือกระดาษ ก็โดนทีมสโมสรฯ ขนาดกลางและเล็กโจมตีอย่างหนัก พอปี 2011 – 2012 ทางสมาคม UEFA จึงได้แก้เนื้อหาเพิ่มเติมว่า ห้ามทุกสโมสรฯ มีบัญชีขาดทุนเกิน 45 ล้านยูโรต่อปี เว้นแต่เจ้าของสโมสรฯ ได้ทำการชำระหนี้แล้วเสร็จ จึงจะอนุญาตให้ทำการซื้อ ขายตัวผู้เล่นได้ พร้อมต้องแสดงบัญชีแบบตรงไปตรงมาและมีเหตุผล แต่เผอิญว่าจะลืมหรือเจตนาก็ไม่รู้ UEFA ดันไม่บอกเรื่องมาตรการลงโทษเอาไว้ว่าจะทำเช่นไร

จนกระทั่งฤดูกาลปี 2013 – 2014 ทางสมาคม UEFA ได้ออกแอ็คติ้งอีกครั้ง โดยการปรับเงินสโมสร แมนฯ ซิตี้ และ เปเอชเช เป็นจำนวนเงิน 60 ล้านยูโร ข้อหาทำผิดกฎการเงิน แต่เงินที่ปรับไปดันเอาไปเข้าบัญชีองค์กรฯ ตัวเอง เลยทำให้โดนด่าอีกเช่นเคย แทนที่จะลงโทษห้ามสโมสรฯ นั้นเข้าแข่งขันในรายการฟุตบอลถ้วย ยูฟ่า หรือห้ามเข้าซื้อ ขายในตลาดนักเตะกี่ปีก็ว่าไป แค่ปรับเงินมันจะทำให้ทีมเหล่านั้นเชื่อเหรอ เงินก็เข้ากระเป๋าตัวเองอีก

ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน  UEFA มีผลงานชิ้นใหญ่แค่ชิ้นเดียวจากการแบนด์ทีม เอซี มิลาน ในปี 2019 – 2020 ไม่ให้ลงเล่นในรายการ ยูฟ่า ยูโรเปี้ยนลีก นั่นแหละครับผลงานชิ้นเดียวที่เป็นรูปธรรม เพราะมีกรณีที่อื้อฉาวมากจากทีม แมนฯ ซิตี้ ตลอดช่วงเวลาปี 2012 – 2016 แมนฯ ซิตี้ เข้าข่ายทำผิดกฎข้อนี้มาตลอด แต่ทว่าว่าทาง UEFA นั้นเหมือนหนูไม่รู้นะว่าเขาทำ มาออกอาการดีดดิ้งจะลงโทษเมื่อปี 2020 จนมีเรื่องมีราวฟ้องร้องกันไปถึงศาลกีฬาโลกนู้น และศาลให้ข้อคิดเห็นว่า ความผิดมันเกิดขึ้นมาหลายปีแล้วนะ ทำไมเพิ่งจะมาอยากลงโทษกันวันนี้ล่ะ และข้อมูลที่นำมาฟ้องก็ไม่แน่นเลย ตั้งใจจะฟ้องจริง ๆ รึเปล่าเนี่ยสุดท้ายแล้วเคสของ แมนฯ ซิตี้ UEFA ก็หน้าแตกไปตามบทที่ตั้งใจเขียนเองหรือไม่ ไม่รู้ แต่ชาวโลกสงสัยแน่นอนครับ นักวิเคราะห์แวดวงกีฬาและสายการเงินมองว่า การที่สมาคมฯ เลือกฟ้องทีม แมนฯ ซิตี้ นั้นเป็นเพียงเพื่อต้องการแสดงอัตลักษณ์ของตัวเอง แต่จะทำเต็มที่และเข้มงวดแค่ไหนก็เป็นอีกเรื่อง และยังมองว่า กฎห้ามใช้จ่ายการเงินเกินดุลบัญชีนี้ เป็นเรื่องที่ดีในหลักการ เพราะมันป้องกันไม่ให้ทีมขนาดกลางและเล็กคิดละเมิด ไม่อย่างนั้นการฟ้องล้มละลายก็เกิดขึ้นจริงแน่ เพราะทีมเหล่านี้ไม่สามารถขายทรัพย์เพื่อนำเงินมาใช้หนี้ได้เพียงพอหรอก ตรงนี้เลยเป็นจุดต่างกับทีมใหญ่ ที่ไม่ค่อยเห็นมีคดีฟ้องร้องกันครับ ทีมใหญ่ ๆ ที่มีนายทุนเศรษฐีหนุนหลัง พร้อมกดโอนเงินได้ตลอดเวลาครับ

สมัครแทงบอล สมัครคาสิโน

Check Also

เปิดตัว แมสซี่ เสื้อแสนห้าหมดใน 20 นาที

คนที่รักและชื่นชอบในตัวลีโอเนล เมสซี่ มันไม่ได้มีแค่เฉพาะ บาร์ซา เท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงแฟนบอลทั่วทั้งโลกที่ปฏิญาณตนชัดเจนกว่า ฉันรักลีโอเนล เมสซี่ ก็เท่ากับว่านอกจากประโยชน์ที่ลีโอเนล เมสซี่ จะสร้างให้อีกมาก