ยุคนี้คือยุคที่ใครก็สามารถเป็นสื่อได้ เพียงแค่เปิดช่องยูทูบ และทำในสิ่งที่ตัวเองเชื่อมั่นว่าผู้คนจะชอบ บอกเล่าเรื่องราวที่ตัวเองมีความรู้มีความสามารถ และหากทำได้ดี พวกเขาก็จะกลายเป็น อินฟลูเอนเซอร์ ที่ได้รับการยอมรับเฉพาะกลุ่มขึ้นมาในทันที อย่างไรก็ตามในโลกของฟุตบอล การจะได้เป็นสุดยอดสื่อหรือนักวิจารณ์ที่ได้รับการยอมรับ และเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศจนไปถึงวงกว้างได้จริง ๆ คือการได้ออกโทรทัศน์เพื่อบรรยายหรือวิจารณ์เกม ในการถ่ายทอดสดที่มีคนดูทั้งโลก กว่าจะไปถึงจุดนั้น มันมีที่มาอย่างไร และคนแบบไหนที่จะมีสิทธิ์จะไปยืนอยู่บนจุดนั้นได้
ในปี 1964 สถานีวิทยุและโทรทัศน์ BBC ประเทศอังกฤษได้มีการเปิดตัวรายการที่ชื่อว่า แมตช์ ออฟ เดอะเดย์ เป็นรายการวิเคราะห์วิจารณ์ และพูดคุยเกี่ยวกับเกมการแข่งขันกีฬา ซึ่งในปีต่อ ๆ มาก็มีรายการทำนองนี้เกิดขึ้นตามมาอีกหลายรายการ แต่ความเข้มข้นจริง ๆ มันเกิดขึ้นในปี 1990 เกรท ไดจ์ ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ในอังกฤษ ซึ่งต่อมาในปี 2013 -2016 เขาได้เข้าไปเป็นผู้บริหารของสมาคมฟุตบอลอังกฤษ หรือ FA มาแล้วด้วย และเขาคนนี้แหละเป็นผู้จุดประกายก่อให้เกิด พรีเมียร์ ลีก
ย้อนกลับไปตอนต้นปียุค 1990 เกรท ไดจ์ ได้พยายามพูดคุยและโน้มน้าวใจเหล่าผู้บริหารสโมสรฯ ทีมใหญ่ ๆ ให้แยกตัวออกมาจากสมาคม EFLหรือสมาคมฟุตบอลดิวิชั่น 1 ลีกเดิม เพื่อร่วมกันก่อตั้งและพัฒนาลีกฟุตบอลขึ้นมาใหม่ ให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกับลีกฟุตบอลในชาติอื่น ๆ วัตถุประสงค์ของเขาต้องการให้ฟุตบอลมีความน่าสนใจ มากกว่าจบอยู่ที่ผลการแข่งขัน เขาต้องการความเป็นวาไรตี้ มีเรื่องอื่นๆ สอดแทรกเข้ามาด้วยทั้งก่อนแข่ง และหลังแข่งจบไปแล้ว ซึ่งต่อมากลายเป็นจุดหลักทำให้เวที พรีเมียร์ ลีก โด่งดังและเป็นที่สนใจของแฟนบอลทั่วโลก
เมื่อลีกมีมาตรฐานแล้ว เรื่องของผลประโยชน์รายได้ก็ตามมาอย่างมาก จนครั้งหนึ่งรายการต้องมีปัญหากับผู้จัดการทีมคนดังสมัยนั้นอย่าง เซ่อร์อเล็กซ์ เฟอรกรูสัน เพราะรู้สึกไม่พอใจกับผังเวลาการแข่งขัน ที่จะต้องแบ่งเวลาไปกับการให้สัมภาษณ์โทรทัศน์ ทั้งก่อนแข่งและหลังแข่ง มันเป็นการเบียดชั่วโมงการแข่งขันให้กระชั้นชิดมากขึ้น นำไปสู่ปัญหาการเตรียมตัว ทุกสโมสรฯ ต้องมาปรับตัวใหม่ เพื่อจะเอื้อประโยชน์ต่อตารางการถ่ายทอดสดไปยังต่างประเทศ หรือต่างทวีปที่มีเวลาเลื่อมล้ำกันมาก
สุดท้ายแล้ว เมื่อเสียงส่วนใหญ่ต้องการเงินรายได้เพิ่มเข้ามา ก็ต้องยอมปรับตัวกันให้เข้ากับธุรกิจทุนนิยม แม้บางเรื่องจะมีการเสียเปรียบกันไปบ้างก็ตาม ปัจจุบันต่างประเทศได้มีการเข้ามาซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด และรายการวิเคราะห์วิจารณ์ก่อนและหลังแข่งขันจากเหล่ากูรูมากมาย ซึ่งอาชีพนักวิจารณ์นี้มันไม่ได้เป็นกันง่าย ๆ ในสมัยนั้นส่วนใหญ่ ก็จะมาจากนักฟุตบอลชื่อดังที่เลิกเล่นไปปแล้ว มันต้องใช้มุมมอง ทัศนะคติ และประสบการณ์จริง ถึงได้คาดการณ์ออกมาได้แม่นยำ ถ้าไม่อย่างนั้นรายการก็จะไม่มีความน่าเชื่อถือครับ
หลังจากโลกออนไลน์มันเติบโตขึ้นมากมาย ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย เช่น รายการหนึ่งที่ทำข่าวทีม อาร์เซนอล เมื่อมีการแข่งขันเสร็จก็จะมีคนเอาไมล์ไปจ่อปากแฟนบอล เพื่อสอบถามความคิดเห็นต่อผลการแข่งขัน ซึ่งแฟนบอลก็ใส่กันเต็มที่ เมื่อความต้องการของผู้เสพเปลี่ยนไป บรรดาทีมกูรูจงต้องมีการปรับเปลี่ยน มีการเพิ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้านเข้ามา เรียกว่าต้องเก็บรายละเอียดให้มากที่สุด และการวิเคราะห์ในเชิงผลการแข่งขัน เพื่อให้สอดคล้องกับบรรดาบริษัทรับแทงพนันที่ถูกกฎหมายด้วย เรียกว่าต้องครบเครื่องทุกด้านเบ็ดเสร็จในรายการเดียวส่วนผู้วิเคราะห์จะตั้งใจบื้อ หรือสร้างคาแร็กเตอร์นั้น มันอาจมองได้ทั้งสองอย่าง แต่เมื่อต้องการทำอะไร คุณก็ต้องหาจุดขายตัวเองให้ได้ เพื่อการตลาดให้คนดูจดจำ มองเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองที่ไม่เหมือนใคร แล้วจะมีกลุ่มแฟนรายการคอยติดตาม มันทำให้รายการขายได้ บางคนนี่เป็นเจ้าพ่อ บอลสวน เลยนะอย่าง ไมเคิ่ล โอเว่น นี่แหละเปิดราคาสวนเลย หรือ คาร์ราเกอร์ กับ แกรี่ เนวิล ที่มาจับคู่กันแล้วดังระเบิด คู่นี้มีทุกอย่างในตัวครับ บางวันด่ากัน บางวันจูบปากกัน ก็มีให้เห็นครับ